hidden

วัดอินทาราม

วัดอินทาราม

วัดอินทาราม ตั้งอยู่เลขที่ ฎ 36 บ้านคลองเมือง  หมู่ที่ 6 ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 42 ไร่ 188 งาน  โฉนดเลขที่ 9244 อาณาเขต  ทิศเหนือยาว 128 เมตร  ทิศใต้ยาว 180 เมตร ติดต่อกับที่ดินของวัดวงษ์ฆ้อง  ทิศตะวันออกยาว 74.50 เมตร  ติดต่อกับที่ดินของวัดแม่นางปลื้ม  ทิศตะวันตกยาว 129.50 เมตร  ติดต่อกับคลองเมือง  มีที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง  เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา  โฉนดเลขที่ 863,9243

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม  มีกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรอบ  บริเวณที่ตตั้งวัด  แต่เดิมเรียกกันว่า บ้านฆ้อง  อาคารเสนาสนะต่างๆ มี  อุโบสถกว้าง 10 เมตร ยาว 22 เมตร สร้าง พ.ศ. 2543  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก   พื้นหินขัด  ซุ้มประตูหน้าต่างทรงบุษบก  หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร  ยาว 22 เมตร สร้าง พ.ศ. 2523  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  พื้นหินขัด  ซุ้มประตูหน้าต่างทรงบุษบก  หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 22 สร้าง พ.ศ. 2524  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้  กุฎีสงฆ์จำนวน 7 หลัง  และหอระฆัง 1 หลัง  สำหรับปูชนียวัตถุมี  พระประธานในอุโบสถ  พระเพลากว้าง 2.76 เมตร ปางมารวิชัย  สมัยอยุธยา  เนื้อหินทรายขาวหินปูน  พระพุทธรูปหินทรายขาวอื่นๆ อีก  7  องค์  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอยุธยา  ขนาดพระเพลากว้าง 1 เมตร  และหลวงพ่อธรรมจักร  เป็นพระพุทธหล่อ ปางห้ามญาติ  สมัยอยุธยา  ที่ฝ่าพระหัตถ์มีรูปธรรมจักร 

วัดอินทาราม  ชาวบ้านเรียกว่า วัดอินท์สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  โดยสันนิฐานว่า สมเด็จพระอินทราชาเจ้า หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช  เป็นผู้สร้าง  แต่โดยมีหลักฐานแน่ชัด  จึงประมาณปีสร้างวัดไว้เพื่อเป็นหลักในการศึกษาค้นคว้า  คือประมาณ พ.ศ. 2310  เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกตีแตก  วัดนี้ก็ถูกข้าศึกทำลายและกลายสภาพเป็นวัดร้างไป  ต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณปลายราชกาลที่ 5 ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  เกี่ยวกับการศึกษา  ทางวัดได้เปิดสอนพระปริย์ติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา  วัดอินทารามถือว่าเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว  นับตั่งแต่ประมาณ  พ.ศ. 1930  มีพระภิกุอยู่จำพรรษา 9 รูป  สามเณร 5 รูป  ศิษย์วัด 15 คน

เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนานมี 10 รูป  คือ  รูปที่ 1 เจ้าอธิการบุญ  ประมาณ พ.ศ. 2475  รูปที่ 2 พระอธิการทรง  รูปที่ 3 พระอธิการปิ่น  รูปที่ 4 พระอธิการจันทร์  รูปที่ 5 พระอธิการชั้ว  รูปที่ 6 พระอธิการลาภ  รูปที่ 7 พระอธิการบุญมา ปภสฺสโร  รูปที่ 8 พระอธิการฉิงสวโร พ.ศ. 2511-2512  รูปที่ 9 พรมหาจิตร จนฺทูปโม พ.ศ. 2514-2517  รูปที่ 10 พระครูสิริวรวัฒน์  (ประจวบ สกฺกวโร ป.ธ. 4)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ปัจจุบันมีพระครูปลัดยุทธนา ธนปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

เป็นต้นมา.

image

พระประธานในอุโบสถ

วัดอินทาราม
image

หลวงพ่อธรรมจักรขจัดภัย

วัดอินทาราม
image

หลวงพ่อพบโชค

วัดอินทาราม
image

พระอินทร์

วัดอินทาราม
image

หลวงพ่อสังขจาย

วัดอินทาราม
image

มลฑปรอยพระพุทธบาท

วัดอินทาราม

พระประธานในอุโบสถ

พระประธานในอุโบสถ มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อโต" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ มารสะดุ้ง เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้

image

หลวงพ่อธรรมจักรขจัดภัย

 พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ขึ้นเสมอพอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ขวายื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม ห้ามญาติ หรือห้ามภัยขจัดภัยพิบัติต่างๆ สร้างในสมัยอยุธยา มือพระหัตถ์มีรูปจักรประดับพลอยนพเก้า สันนิษฐาน ตามคติความเชื่อสร้างเพื่อต้องการจะให้กำจัดเคราะห์ภัยแก่ผู้กราบไหว้ ตามคติความเชื่อแบบโบราณ คิดความเชื่อเรื่องจักร พุทธคุณแห่งจักรนารายณ์ ดีเด่นด้านคุ้มภัยปราบศัตรู กันคุณไสย ไล่สิ่งอัปมงคล ส่งเสริมการงานให้สำเร็จ ปราบทุกข์เข็ญ อุปสรรคทั้งปวงให้สลายหายสิ้น พิชิตหมู่มารมีชัยเหนือศัตรูทำลายทะลุทะลวงคุณไสยมนต์ดำอวิชชาต่างๆ ให้แพ้สิ้น

 จักรประดับพลอยนพเก้าที่กลางฝ่ามือ

image

หลวงพ่อพบโชค

  หลวงพ่อพบโชค เป็นพระพุทธรูปสำริด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเพชร แต่ในระยะต่อมามีผู้คนมากราบไหว้ และขอพรต่างแล้วประสบความสำเร็จ พบแต่สิ่งดีๆ จึงได้เรียกชื่อหลวงพ่อใหม่ว่าหลวงพ่อพบโชค เพราะเมื่อมากราบมาไหว้แล้วส่วนใหญ่จะพบแต่เรื่องดีๆ มีโชคลาภเป็นต้นหลวงพ่อพบโชคเป็นพระพุทธรูปสำริดปางขัดสมาธิเพชร มีฐานแยกออกจากตัวองค์พระพุทธรูป คําว่า “ขัดสมาธิเพชร” มีรากมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต (หมายความว่าทั้งบาลีและสันสกฤตใช้คำเดียวกัน) ว่า “วัชระ” + “อาสนะ” วัชระ = เพชร, อาสนะ = ที่ตั้ง ที่ประทับ ท่านั่ง เอนพัก ดังนั้น วัชรอาสน์/วัชรอาสนะ/วัชราสนะ จึงแปลเป็นไทยว่า “ท่านั่งขัดสมาธิเพชร” “เพชร” หรือ “วัชระ” ในที่นี้ หมายถึงนั่งขัดซ้อนแบบช้อนขารัดแน่นจนแข็ง 

 

 

image

พระอินทร์

ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานรูปพระอินทร์ให้คนทั่วไปได้สักระบูชา ของสาธุชนทั่วไป

image

หลวงพ่อสังขจาย

ด้านทิศตะวันออกทิศใต้ประดิษฐานหลวงพ่อสังขจายเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเป็นที่นับถือของคนในท้องถิ่น

image

มลฑปรอยพระพุทธบาท

มลฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองเป็นองค์ประธานมลฑปขึ้นนมัสการทาง

image

ข่าวสาร / กิจกรรม

บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 2567

บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 2567

อ่านต่อ
บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 2567

ร่วมเติมบุญเติมธรรม

 

 

ร่วมบุญใหญ่ ให้ชีวิตไถ่ ชีวิตแม่โค 

โครงการโคบุญช่วยให้ชีวิตใหม่

 

 

 

ร่วมบุญตามกำลังศรัทธากับทางวัด ได้ที่

ชื่อ : วัดอินทาราม

ไทยพาณิชย์ : 575-466775-6

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

 

วัดอินทาราม (ตำบลหัวรอ) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

โทร 089-804-5629 ( เจ้าอาวาส )

 

ลดหย่อนภาษี แจ้งได้ทาง Inbox

หรือตามช่องทางที่ระบุไว้ วัดของเราเป็นวัดที่ได้ขึ้นระบบทะเบียน E-donation ของกรมสรรพากร เรียบร้อย

 

ให้ชีวิต

ติดต่อวัด

วัดอินทาราม

ตั้งอยู่เลขที่ ฎ 36 บ้านคลองเมือง
หมู่ที่ 6 ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

 

โทร : 063 669 5851

อนุโมทนาบัตร


ท่านใดต้องการอนุโมทนาบัตร เพื่อนำไปใช้ ลดหย่อนภาษี กรุณาแจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วน

hidden